แก้ปัญหาหลังคาร้อนและรั่วซึม ด้วย พี.ยู. โฟม ฉนวนกันความร้อน รักษาอุณหภูมิ ประหยัดไฟฟ้าลงถึง40%หรือมากกว่านั้นอยู่ที่ความหนาของการฉีดพ่น

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

พระกรุนาดูน พิมพ์ปรกโพธิ์ จ.มหาสารคาม หายากมากๆ ขนาดกำลังพอดีในการคล้องคอบูชา

พระกรุนาดูน พิมพ์ปรกโพธิ์ มหาสารคาม หายากมากๆ ขนาดกำลังพอดีในการคล้องคอบูชา อายุการสร้าง1000กว่าปี บูชาแล้วมีโชคลาภวาสนา แคล้วคลาดมหาอุด เมตตามหานิยมเรียกว่าคลอบจักรวาล โอ ระยอง 0894014403
ประวัติความเป็นมาของพระกรุนาดูน มหาสารคาม
พระกรุพระธาตุนาดูน จ.มหาสารคาม แตกกรุครั้งแรกเมื่อประมาณปี ๒๕๒๒ บริเวณที่นาของนายทองดี ปะวะภูตา ราษฎรบ้านนาดูน ต.นาดูน อ.นาดูน จ.มหาสารคาม ในครั้งนั้นมีการขุดพบโบราณวัตถุสมัยทวารวดี พบสถูปที่ใช้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ทำด้วยทองสัมฤทธิ์ มี ๒ ส่วน คือ ๒.ส่วนยอด มีลักษณะเป็นปล้องไฉน จำนวน ๒ ปล้อง ส่วนบนสุดเป็นปลียอดกลม ๒.ตัวสถูปทำด้วยทองสัมฤทธิ์ ลักษณะคล้ายระฆัง หรือโอ่งคว่ำ ส่วนยอดของตัวสถูปจะรับเข้ากับส่วนล่างสุดพอดี พร้อมกันมีการขุดพบพระเนื้อดินเผาพิมพ์ต่างๆ หลายสิบกระสอบ พระเนื้อดินเผา กรุพระธาตุนาดูน จัดว่าเป็นพระกรุเก่าแก่ที่สุดอีกกรุหนึ่งของเมืองไทย อายุประมาณ ๑,๕๐๐ ปี นับเป็นกรุที่มีพระจำนวนมากที่สุด และมีจำนวนพิมพ์มากกว่า ๔๐ พิมพ์ โดยมีความแตกต่างในพิมพ์ทรงองค์พระ ซึ่งล้วนแต่ออกแบบได้งดงามอลังการยิ่ง แต่ละพิมพ์บ่งบอกถึงความหมายอยู่ในตัว รวมทั้งยังบ่งบอกถึงคติความเชื่อ และความศรัทธาเลื่อมใสของบรรพชน ค่านิยมพระกรุนาดูน ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบันมี ๒ แบบ คือ พิมพ์เล็กสำหรับห้อยคอ และพิมพ์พระบูชา หรือพระแผง พระพิมพ์เล็กขนาดห้อยคอที่จัดว่ามีราคาสูงสุด คือพระปางลีลา หรือปางตริภังค์ เป็นพิมพ์ที่ขุดพบน้อยมาก จึงหายาก รองลงมาคือพระนาคปรกเดี่ยว พิมพ์เล็ก พระนาคปรกเดี่ยว พิมพ์ใหญ่ ส่วนพระแผงขนาดบูชา จะเป็นปางนั่งเมือง ปางเสด็จจากดาวดึงส์ ปางประทานพร ปางปาฏิหาริย์ ปางปรกโพธิ์ และพิมพ์ต่างๆ อีกหลายพิมพ์ ในครั้งนั้น มีชาวบ้านจากทุกทั่วสารทิศแห่มาขุดหาพระกันอย่างมากมายเพื่อครอบครองเป็นสิริมงคล บ้างก็เอาไว้ขายต่อ เพราะได้ราคาดี โดยมีบรรดาเซียนพระมารับซื้อถึงปากหลุม ปัจจุบันพระกรุนาดูนเป็นที่ยอมรับ และเป็นที่ต้องการของเซียนพระเป็นอย่างมาก ต่อมาจังหวัดส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายร้อยนายกันชาวบ้านออกจากบริเวณดังกล่าว เพื่อให้เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรที่ ๗ ขอนแก่น เข้าไปสำรวจตรวจสอบโบราณวัตถุ เพื่อเก็บสิ่งของที่พบเข้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่นต่อไป กว่า ๒๗ ปีที่ผ่านมา ความนิยมในพระกรุนาดูนได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ราคาแพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเริ่มหายากขึ้นทุกวัน จนล่าสุด หลัง งานนมัสการพระธาตุนาดูน เมื่อต้นปีที่ผ่านมา มีชาวบ้านบางคนทยอยมาขุดหาพระในบริเวณที่เคยขุดพบเมื่อปี ๒๕๒๒ อีกครั้งหนึ่ง จนมีข่าวแพร่สะพัดออกไปว่ามีการขุดพบพระกรุนาดูน ทำให้เมื่อ ๒-๓ สัปดาห์ที่ผ่านมาชาวบ้านแห่กันมาขุดหาพระกันเป็นจำนวนมากติดต่อกันทุกวัน ไม่เว้นแม้กระทั่งเวลากลางคืน นายทองแดง ภาระโก อายุ ๓๗ ปี ชาวบ้านหนองโง้ง ต.นาดูน กล่าวว่า เมื่อประมาณ ๓ อาทิตย์ที่ผ่านมามีชาวบ้าน ๑๐๐-๒๐๐ คน รวมกลุ่มกันมาประมาณกลุ่มละ ๑๐-๒๐ คน จับจองที่เพื่อขุดหาพระกันเป็นจำนวนมาก บางคนก็ได้ บางคนก็ไม่ได้ แต่ที่ผ่านมามีการขุดพบพระดินเผาพิมพ์ต่างๆ จำนวนหลายร้อยองค์ โดยผู้มาขุดหาพระ จะขุดดินเปิดปากหลุมความกว้างประมาณ ๕x๕ เมตร ลึกประมาณ ๕ เมตร พอลึกจนพบตาน้ำ ก็จะสูบน้ำออก แล้วลงมือค้นหาพระด้วยมือเปล่า แล้วแต่ดวงใครจะเจอก่อน ซึ่งตามข้อตกลง หากมีการพบพระก็จะตกลงกันว่าจะขายกันที่ปากหลุม แล้วเอาเงินมาแบ่งเท่าๆ กัน แต่ส่วนใหญ่เมื่อขุดพบพระ จะยังไม่มีการขายที่ปากหลุม ชาวบ้านจะเก็บไว้ประเมินราคาก่อนที่จะขายในวันต่อไป ทำให้เซียนพระต่างพากันไปซื้อพระอย่างเนืองแน่น เพราะพิสูจน์กันอย่างแน่ชัดแล้วว่าพระที่ขุดพบในครั้งนี้เป็นพระแท้แน่นอน จึงทุ่มเงินซื้อกันอย่างไม่อั้น "พระที่พบส่วนใหญ่จะเป็นพระแผง มีทั้งสมบูรณ์และไม่สมบูรณ์ ส่วนพระพิมพ์เล็กจะไม่ค่อยพบ ราคาพระตรงปากหลุมจะขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ และพิมพ์ที่พบเห็นส่วนใหญ่จะมีราคาประมาณ ๑ หมื่น-๕ แสนบาท โดยจะมีเซียนพระหรือผู้สนใจมาเฝ้ารอซื้อต่อที่ปากหลุมหลายคน ส่วนผู้ที่มาขุดหาพระ ส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านละแวกใกล้เคียง แต่เชื่อว่า เมื่อมีข่าวแพร่กระจายออกไป จะมีชาวบ้านจากที่อื่นๆ แห่มาขุดเพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน" นายทองแดง กล่าว ขณะที่ นายทรงเดช แสงนิล อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ผู้ติดตามศึกษาเรื่องพระกรุนาดูน กล่าวว่า กรุนาดูนเป็นหนึ่งใน ๓๒ กรุ ในนครจำปาศรีเดิม หรือเมืองนาดูนในอดีต พระพิมพ์ต่างๆ ที่พบเห็นส่วนใหญ่จะมีลักษณะเหมือนกัน เนื่องจากอยู่ในยุคเดียวกัน คือยุคทวารวดี ซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อนยุคขอมจะเรืองอำนาจเสียอีก จากอายุที่เก่าแก่และค่านิยมของบรรดาเซียนพระ ส่งผลให้พระกรุนาดูนได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆ ของวงการพระเมืองไทย โดยส่วนใหญ่พระที่พบจะมีอยู่ด้วยกัน ๗ เนื้อ คือ เนื้อหิน เนื้อมะขามเปียก เนื้อมันปู เนื้อแดง เนื้อทราย เนื้อส้ม และเนื้อหม้อใหม่ โดยเนื้อหินและเนื้อมะขามเปียกจะจัดอยู่ในเนื้อเกรดเอ ได้รับความนิยมสูง และเป็นเนื้อที่หายากมาก "วัฒนธรรมการดูพระ เกิดจากค่านิยม และกระแสต่างๆ ในสังคม เมื่อมีคนสนใจมาก ของมีน้อย ความต้องการของคนยิ่งสูงขึ้น และค่าบูชาพระกรุนาดูนก็สูงขึ้นตามไปด้วย จึงเชื่อว่าหลังมีข่าวแพร่สะพัดออกไปแล้ว อีกไม่นานกรมศิลปากร หรือเทศบาลตำบลนาดูน ซึ่งเป็นเจ้าของที่ คงจะเข้ามาสั่งห้ามชาวบ้านให้ยุติการขุดหาพระอย่างแน่นอน" นายทรงเดช กล่าว ขณะที่ นายรัตนคุณ พงษ์จันทร์เพ็ญ เซียนพระเมืองมหาสารคาม กล่าวว่า ข่าวการขุดหาพระกรุนาดูนเริ่มได้รับความสนใจจากเซียนพระในตัวเมืองมหาสารคาม และจังหวัดใกล้เคียงบ้างแล้ว ที่ผ่านมาก็มีเซียนพระจากต่างถิ่นเดินทางไปที่ อ.นาดูน เป็นจำนวนมาก เพื่อไปรับซื้อพระที่ปากหลุม ขณะนี้ทราบว่าพระกรุที่ขุดพบครั้งนี้เป็นที่นิยมมากกว่าครั้งที่กรุแตกเมื่อปี ๒๕๒๒ ด้วยซ้ำ และจากความนิยมดังกล่าว ส่งผลให้พระกรุนาดูนมีราคาสูงขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม นายประสาทพร สีกงพลี นายกเทศมนตรีตำบลนาดูน กล่าวว่า ล่าสุดเทศบาลได้รับคำสั่งจากจังหวัด ให้ห้ามชาวบ้านระงับการขุดหาพระแล้ว โดยเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม สั่งให้ชาวบ้านเลิกขุดหาพระที่บริเวณดังกล่าว และให้นำรถฝังกลบหลุมดินทั้งหมด พร้อมกับจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปเฝ้าดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะเกรงว่าจะสูญเสียวัฒนธรรมทางประวัติศาสตร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น