แก้ปัญหาหลังคาร้อนและรั่วซึม ด้วย พี.ยู. โฟม ฉนวนกันความร้อน รักษาอุณหภูมิ ประหยัดไฟฟ้าลงถึง40%หรือมากกว่านั้นอยู่ที่ความหนาของการฉีดพ่น

วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เหรียญท้าวมหาพรหม (เทวะผู้บันดาลโชคชะตาแก่มวลมนุษย์) หลังพระสยามเทวาธิราช มีรูปสัตว์ประจำวันล้อมองค์ท่าน

เหรียญท้าวมหาพรหม (เทวะผู้บันดาลโชคชะตาแก่มวลมนุษย์) หลังพระสยามเทวาธิราช มีรูปสัตว์ประจำวันล้อมองค์ท่านโอ ระยอง 0894014403

พระสยามเทวาธิราช>นับเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โดยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์มีพระราชดำริว่า ประเทศไทยมีเหตุการณ์ที่เกือบจะต้องเสียอิสรภาพมาหลายครั้ง แต่บังเอิญมีเหตุให้รอดพ้นภยันตรายมาได้เสมอ ชะรอยคงจะมีเทพยดาที่ศักดิ์สิทธิ์คอยอภิบาลรักษาอยู่ สมควรที่จะทำรูปเทพยดาองค์นั้นขึ้นสักการบูชา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้าประดิษฐวรการปั้นรูปสมมติขึ้น แล้วหล่อด้วยทองคำแท่ง มีลักษณะแบบเทวรูป มีความสูง ๘ นิ้ว ทรงเครื่องอย่างเทพารักษ์ ทรงมงกุฎ ประทับยืน พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นในท่าจีบเสมอพระอุระ ประทับในเรือนแก้วทำด้วยไม้จันทน์ มีลักษณะแบบวิมานเก๋งจีน และถวายพระนามว่า พระสยามเทวาธิราช โปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานไว้ ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวังพระบาทสมเด็จพระจอมกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเคารพบูชาพระสยามเทวาธิราชเป็นอย่างสูง ทรงถวายเครื่องสักการะเป็นประจำทุกวัน และทรงถวายเครื่องสังเวยทุกวันอังคารและวันเสาร์ก่อนเวลาเพล กับโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิธีสังเวยเทวดาในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ อันตรงกับวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติแบบโบราณด้วย ทั้งเป็นที่ร่ำลือกันว่าพระสยามเทวาธิราชนั้นศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนักพระ บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงเคารพนับถือพระสยามเทวาธิราช เช่นเดียวกับพระราชบิดา นอกจากจะโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ในเครื่องทรงแบบพระสยามเทวาธิราชขึ้นองค์หนึ่งประดิษฐาน ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต เพื่อทรงสักการะแล้ว ยังโปรดเกล้าฯ ให้นำรูปพระสยามเทวาธิราชประทับนั่งใส่ในด้านหลังของ เหรียญกษาปณ์ ราคาเสี้ยว อัฐ และโสฬส ซึ่งออกใช้ในรัชสมัยของพระองค์ด้วย พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเลียนแบบพระสยามเทวาธิราชแต่แปลงเค้าพระพักตร์ให้ เหมือนสมเด็จพระชนกาธิราช เพื่อทรงสักการะ พระบรมรูปองค์นี้ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
ใน รัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ หรือพระราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ เสด็จแทนพระองค์ไปทรงถวายเครื่องสังเวยพระสยามเทวาธิราช ในวัน ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ และระหว่างงานฉลองกรุงเทพฯ ๒๐๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระสยามเทวาธิราชออกมาให้ประชาชาชนทั่วไปได้สักการบูชาเป็นครั้งแรก คนไทยเราเชื่อกันมาแต่โบร่ำโบราณแล้วว่ามีเทวดาผู้ปกปักรักษาบ้านเมืองใน สมัยกรุงสุโขทัยมีพระขพุงผีเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง เชื่อกันว่า “ถ้าไหว้ดีพลีถูก บ้านเมืองก็เจริญรุ่งเรือง แต่ถ้าไหว้ดีพลีไม่ถูก บ้านเมืองก็ล่มจม” พระขพุงผีนี้เข้าใจกันว่าน่าจะเป็นเทวรูปศิลาของเทวนารีซึ่งปัจจุบันเรียก ว่า แม่ย่า ซึ่งสันนิษฐานว่าพ่อขุนรามคำแหงให้สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงพระมารดาคือ นางเสือง ในสมัยกรุงศรีอยุธยาและต่อมาถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีความเชื่อว่าเทวดาที่คุ้มครองบ้านเมืองคือ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง และ พระหลักเมือง สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงให้ความหมายของพระเสื้อเมืองว่า มีมัลลิตารีเพาเวอร์ คืออำนาจทางทหาร พระทรงเมืองเป็นซีวิลเพาเวอร์ คืออำนาจของข้าราชการพลเรือน ส่วนพระหลักเมืองเป็นจูดิคัลเพาเวอร์ คืออำนาจตุลาการ ซึ่งสื่อความหมายว่าบ้านเมืองจะร่มเย็นได้ ก็ต้องประกอบด้วยความเข้มแข็งทางทหาร การปกครองที่ดีงาม และกระบวนการด้านความยุติธรรมอันถูกต้องเที่ยงตรง อย่างไรก็ตามในส่วนของชาวบ้านโดยทั่วไปยังให้ความเคารพยำเกรงต่อพระแก้วและ พระกาฬ จนมีคำสาบานที่อ้างพระแก้วพระกาฬอย่างติดปาก พระแก้วก็คือพระแก้วมรกตซึ่งถือได้ว่าเป็นของคู่บ้านคู่เมืองโดยแท้ เพราะชื่อของเมืองคือรัตนโกสินทร์ก็หมายถึงที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตนั่นเอง ส่วนพระกาฬ หรือพระกาฬไชยศรีเป็นบริวารพระยม มีหน้าที่นำดวงวิญญาณมนุษย์ไปยมโลก
ส่วนพระสยามเทวาธิราชซึ่งสร้างขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นั้น พระมหาโพธิธรรมาจารย์วงศ์ศากยะได้ เขียนเล่าไว้ว่า
ชื่อ “พระสยามเทวาธิราช”นั้น เป็นตำแหน่งหน้าที่การงานอย่างหนึ่ง ไม่ใช่ชื่อของใครคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ และผู้ดำรงตำแหน่งพระสยามเทวาธิราชนั้นเปลี่ยนแปลงได้ เปลื่ยนตัวบุคคลได้ตามความเหมาะสมแก่กาลสมัย ไม่เป็นการตายตัวว่าท่านผู้ใดได้ดำรงตำแหน่งนี้แล้วจะต้องอยู่กี่ปีหรือ ต้องอยู่ตลอดไป
คำว่า “พระสยามเทวาธิราช” นั้นมีมานานแล้ว เป็นตำแหน่งที่พระมหาพรหมซึ่งมีหน้าที่ปกปักรักษาเมืองสยามตั้งขึ้น โดยมีการประชุมเทพ-พรหมที่เป็นฝ่ายรักษาบ้านเมืองและเห็นสมควรบัญญัติคำว่า “พระสยามเทวาธิราช” ขึ้น และทรงประทานหน้าที่นี้ให้แก่พระมหากษัตริย์ผู้ครองเมืองสยามทรงทำหน้าที่นี้ ผู้ดำรงตำแหน่งพระองค์แรกและเรียงกันลงมาตามลำดับคือ
๑ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
๒ พ่อขุนผาเมือง
๓ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
๔ พระเอกาทศรถ
๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และ
๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเมตตามหาราช(ปิยมหาราช) พระองค์ทรงได้รับการสถาปนาจากเบื้องบนเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๐ ครั้งแรกได้ทรงแต่งตั้งพระอนุชาและพระโอรสใ้ห้ช่วยงานการในตำแหน่งอีก ๑๓ พระองค์ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ทรงเป็นองค์ที่ ๑๓ แต่ บัดนี้เนื่องจากเหตุการณ์ทางบ้านเมืองได้เปลี่ยนแปลงไปจึงทรงลำดับใหม่ดังนี้
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.๕) ทรงเป็นองค์ประธาน ทรงมีผู้ช่วยอีก ๔ พระองค์คือ
๑ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.๔)
๒ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
๓ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.๖)
๔ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.๗)
(โดยอาจจะทรงมีการแต่งตั้งอีกในภายหน้า)
การที่เบื้องบนได้ทรงแต่งตั้งให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.๕) ขึ้นดำรงตำแหน่งพระสยามเทวาธิราชนี้ ได้ประชุมและตกลงกันโดยได้ทรงพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วว่าพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระองค์ที่เหมาะสมที่สุดในปัจจุบันนี้
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.๕) พระเมตตามหาราชพระองค์นี้ เมื่อยังเสด็จประทับอยู่ในโลกมนุษย์ ทรงมีพระเมตตากรุณาเป็นอย่างสูง เมื่อได้เสด็จสวรรคตแล้วได้ทรงใช้กรรมเล็กๆ น้อยๆ เพียงชั่วเวลาอันรวดเร็วก็ได้ขึ้นเป็นเทพ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๙ ผู้เขียน...หมายถึงท่านพระมหาโพธิธรรมาจารย์ วงศ์ศากยะเอง....ได้พบพระองค์ในฐานะเทพชั้น ๖ แต่จากนั้นไม่ถึง ๕ ปี ก็ได้ขึ้นเป็นพรหม และบัดนี้ทรงเป็นพระมหาพรหมแล้วทรงพระนามว่า “พระมหาพรหมปิยะวงศ์วิสุทธิราช” เสด็จประทับอยู่ ณ.พรหมโลก ผู้ช่วยพระองค์ที่ ๑ คือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.๔)ขณะนี้เสด็จประทับอยู่บนเทวโลกชั้นดาวดึงส์ตอนต้น ตอนนี้ท่านพระมหาโพธิธรรมาจารย์วงศ์ศากยะได้ทราบจากนักสืบองค์ น้อยว่ากำลังบำเพ็ญสมาธิทางพระจิตอยู่ เพราะเมื่อยังเสด็จประทับอยู่ในมนุสสโลกนั้นต้องทรงพากเพียรเรียนทางบาลีและ อังกฤษ ฯลฯ จึงไม่มีเวลาพอที่จะตั้งพระทัยบำเพ็ญทางพระกรรมฐานได้ ครั้นเมื่อได้ทรงลาสิกขาบทแล้วก็ยิ่งต้องทรงมีธุรกิจทางปกครองบ้านเมืองมาก ยิ่งขึ้น ขณะนี้ถ้าเวลาใดพอมีเวลาว่างบ้างก็ทรงตั้งพระทัยที่จะแสวงหาความรู้ทางฌาน และญานเพื่อประโยชน์จะได้้ทรงช่วยพระศาสนาและบ้านเมือง ผู้ช่วยพระองค์ที่ ๒ (หรือพระสยามเทวาธิราชองค์ที่ ๓) คือกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ พระองค์นี้ทรงเข้มแข็งและเด็ดขาดและทรงมีหลายพระภาค เรื่องต่อสู้เพื่อประเทศชาติบ้านเมืองแล้วรับรองได้ว่ามิได้เคยทรงย่อท้อต่อไพรีเลยแม้แต่ก้าวเดียว เรื่องรักชาติแล้วเป็นหนึ่งไม่มีสอง ผู้ช่วยพระองค์ที่ ๓ และที่ ๔ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระเมตตาต่อประชาชนเป็นอย่างมากแต่กาลเวลาที่ทรงครองราชย์สั้นไป ถึงกระนั้นเรื่องการเอาพระทัยใส่ต่อบ้านเมืองแล้วก็ทรงหนักแน่นอยู่เสมอแม้จนบัดนี้ทั้งสองพระองค์ทรงเป็นเทพชั้นจาตุมหาราช ประทับอยู่ ณ สโมสรสุขเกษมบนเทวโลกตลอดหลายร้อยปีของการมีประเทศไทย และ ๒๒๙ ของการมีกรุงรัตนโกสินทร์ บูรพกษัตริย์ไทยทรงให้ความเคารพบูชาเทพยาฟ้าดินผู้พิทักษ์รักษาคุ้มครองบ้านเมือง จนปัจจุบันนับเป็นปีที่ ๒๒๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ หรือนับเป็นพุทธศักราชที่ ๒๕๕๓ มีบุคคลบางกลุ่มที่พยายามกระทำในสิ่งที่ไม่เหมาะไม่ควรในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ซึ่งนับเป็นวันที่บูรพกษัตริย์ไทยทรงถือเป็นวันสำคัญแห่งการบูชาองค์พระสยามเทวาธิราช คงไม่อาจคิดเป็นอย่างอื่นได้นอกเสียจากการให้ร้ายแก่แผ่นดินนี้ และ ๓ สถาบันสูงสุดของชาติไทย พระสยามจะอยู่คู่เมืองไทยไปอีกนานแสนนาน พระอาจารย์ พินัย ศักดิ์เสนีย์ ผู้สร้าง ท่านเป็นลูกศิษย์ของ อาจารย์ทองแถม พรหมศาสตร์






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น