เหรียญยืนหลวงพ่อบุญเย็น ฐานธมฺโม (หลวงพ่อประกาศิต) สำนักพระเจ้าพรหมมหาราช ตำบลปงตำ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ท่านเป็นลูกศิษย์สายอาจารย์มั่น เหรียญนี้กะไหล่ทอง พบเห็นน้อยมากๆ โอ ระยอง 0894014403
วัดพรหมมหาราช ประวัติ พระพรหมมหาราช
ในพุทธศตวรรณที่ 11 ไทยได้อพยพครั้งใหญ่จากดินแดนบางส่วนของจีนลงมาทางใต้มาส้องสุมผู้คนอยู่ทางลำน้ำโขงตอนเหนือ อันเป็นแหล่งของชาติละว้ามาก่อน พระเจ้าสิงหนวัติ กษัตริย์ไทยในสมัยนั้น ทรงตั้งราชธานีขึ้นใน พ.ศ. 1111 และขนานนามว่า “โยนกนาคนคร” และให้นามแคว้นว่า “แคว้นโยนกเชียงแสน” มีอาณาเขตตลอดสิบสองปันนา จนถึงเมืองหนองแสทางใต้ถึงแดนหริภูญชัยของขอม อาณาจักรของไทยในส่วนนี้ บางตอนก็เถลิงอำนาจเป็นใหญ่ และขับไล่ขอมออกจากราชอาณาจักรไป ส่วนบางตอนก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจขอมเหมือนกันในรัชสมัยของพระเจ้าพังคราช ทรงถูกขอมขับไล่ออกจากโยนกนาคนคร เมี่อปี พ.ศ. 1640 ได้ไปอยู่ที่เมืองส่วยเมืองหนึ่งชื่อว่า “เวียงสีทอง” ริมแม่น้ำสายทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ โยนกนคร แล้วขอมก็เข้าครอบครองโยนกนาคนครต่อไปพระเจ้าพังคราชทรงมีพระราชโอรสองค์แรก ทรงพระนามว่า “ทุกขิตกุมาร” (เหตุที่ได้รับพระนามเช่นนี้ สันนิษฐานว่าเป็นบ่อเกิดของความทุกข์ เพราะต้องถูกเนรเทศออกจากโยนกนาคนคร) ต่อมาใน พ.ศ. 1645 ทรงมีพระราชโอรสอีกคนหนึ่ง ทรงพระนามว่า “เจ้าพรหมกุมาร” ทรงมีวรรณผุดผ่อง และมีศิริลักษณ์งดงามยิ่งนักเจ้าพรหมกุมาร มีพระทัยชอบในการสงครามมาแต่ทรงพระเยาว์ อันแสดงถึงความเป็น นักรบมาแต่กำเนิด ครั้งหนึ่งได้ทรงสุบินนิมิตว่า ช้างคู่บารมีของพระองค์อยู่ในแม่น้ำสายซึ่งมีช้างเผือกถึงสามเชือก หากจับช้างเผือกตัวที่หนึ่งจะมีอำนาจมากปราบได้ทั้ง 4 ทวีป และถ้าจะจับได้ตัวที่สองจะได้ปกครองชมพูทวีป ส่วนตัวที่ 3 หากจับได้ปกครองอาณาเขตดังเดิมพระเจ้าพรหมได้กระทำตามศุภนิมิตครั้งนี้ พระองค์ตรงไปที่แม่น้ำสาย แทนที่จะเห็นช้างเผือกกลับกลายเป็นงูใหญ่ลอยมาตามน้ำ 3 ตัว ตัวที่ 1 ผ่านไป พระองค์ไม่จับ ตัวที่สองผ่านไปพระองค์ก็ไม่จับอีก พอตัวที่สาม พระองค์ทรงจับ ก็เกิดเหตุอัศจรรย์ งูนั้นกลับกลายเป็นช้างเผือกรูปร่างสง่างาม ช้างเผือกนี้ไม่อาจขึ้นจากน้ำได้ พระเจ้าพังคราชจึงให้ทำกรุดึงด้วยทองหนังพันชั่ง ให้พระเจ้าพรหมตีกระดิ่งนั้น ช้างเผือกจึงขึ้นจากน้ำได้ ตำบลนั้นจึงปรากฏนามว่า “ตำบลควานทวน” และช้างเผือกนั้นได้ชื่อว่า “ช้างพางคำ”เมื่อได้ช้างพางคำมาแล้ว พระเจ้าพรหมได้ทรงปรับปรุงบ้านเมืองให้เข้มแข็งกว่าแต่ก่อนเปลี่ยนชื่อเวียงสีทองเป็นพางคำ และทรงฝึกซ้อมทหารให้มีความชำนาญในการรบเพื่อทำการต่อต้านสู้รบกับขอมพระยาขอมรู้เรื่องราวจึงได้ยกทัพมาตีเมืองพางคำ แต่ก็ไม่สามารถต้านทานกำลังของ พระเจ้าพรหมได้ จึงถูกโจมตีแตกพ่ายไป พระเจ้าพรหมได้ตามตีจนได้โยนกนาคนครกลับคืนมาตามเดิมเมื่อได้โยนกนาคนครกลับคืนมาแล้วจึงได้ยกทัพเข้าตีขอมจนแตกกระจัดกระจายไป จนกระทั่งมาถึงเมืองกำแพงเพชร (ตามตำนานกล่าวว่าพระอินทร์เกรงว่าการที่พระเจ้าพรหมยกทัพเข้าโจมตีขอมไม่หยุดยั้ง อาจทำให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตมนุษย์และสัตว์มากมาย จึงได้ให้ พระวิษณุกรรมลงมาเนรมิตกำแพงศิลากั้นเอาไว้แต่ทางการสันนิษฐานกล่าวว่าการที่พระเจ้าพรหม ยกกองทัพมาถึงเมืองกำแพงเพชรเท่านั้น อาจเป็นเพราะเสบียงอาหารหมด ไพร่พลก็ก่อนกำลังลง และได้อาณาเขตกว้างขวางมากพออยู่แล้ว พอที่จะใช้สกัดกั้นทัพของขอมก็เป็นได้)พระเจ้าพรหมตีได้โยนกนาคนคร หลังจากเสียเอกราชให้ขอมไปเมื่อปี พ.ศ.1640 แล้ว เป็นเวลา 19 ปี ต่อมาในราว พ.ศ. 1659 ได้สถาปนาเมืองโยนกนาคนครเป็นราชธานีดังเดิม เปลี่ยนนามใหม่ว่านครชัยบุรีย์ และได้สร้างนครใหม่ทางริมแม่น้ำฝาง ซึ่งไหลมาต่อกับแม่น้ำกก ฝั่งใต้ ขนานนามนครนี้ว่า “นครไชยปราการ” พร้อมกับให้พระเจ้าทุกขติกุมาร พระเชษฐาธิราชไปครองเมืองพางคำเพื่อป้องกันการรุกรานของขอมในยุคนี้มีพวกไทยที่อยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงต่างก็อพยพข้ามฟากมาตั้งภูมิลำเนาในแคว้นโยนกฝั่งขวามากขึ้น นับว่าพระองค์สามารถรวบรวมพวกไทยที่แตกกระจัดกระจายนั้น ให้รวมอยู่ด้วยกันเป็นปึกแผ่น ภายใต้อาณาจักรในแคว้นลานนาไทยผลงานของพระเจ้าพรหมมหาราช เท่าที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น ย่อมเป็นอนุสรณ์ ให้ประชาชาติไทยระลึกถึงพระองค์อยู่เสมอ แม้นว่าพระองค์จะเสด็จล่วงลับไปแล้วเป็นเวลานานร่วมพันปีเศษแล้วก็ตาม แต่วีรกรรมอันเต็มไปด้วยความกล้าหาญอมตะของพระองค์นั้น ย่อมคงอยู่ตลอดกาลสถานที่ที่เป็นพระราชานุสาวรีย์ พระเจ้าพรหมมหาราช ปัจจุบัน ในสมัยพระเจ้าพรหมมหาราชนั้น โปรดให้สร้างวัดและได้ร้างไป ขณะนี้หลวงพ่อบุญเย็นกำลังพัฒนาที่ดินบริเวณนี้ 70 กว่าไร่ ให้เป็นวัดต่อไปในอนาคต โดยจะตั้งชื่อเป็นอนุสรณ์แก่พระเจ้าพรหมมหาราชว่า “วัดพระเจ้าพรหมมหาราช” ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางวิปัสนากรรมฐาน และศูนย์กลางค้นคว้าทางพระพุทธศาสนา ตั้งสถานพยาบาลเพื่อช่วยราษฎร ที่ยากจนและห่างไกลทางการคมนาคมในท้องที่นั้น หลวงพ่อบุญเย็นปฏิบัติตามแบบอย่างของพระเจ้าพรหมมหาราชว่า ในสมัยพระเจ้าพรหมมหาราชท่านสถาปนาคน สถาปนาสังคมต่าง ๆ ให้อยุ่ในสภาพที่อยู่ดีกินดี และมีความสงบสุขร่มเย็น เพื่อทำตามแบบอย่างดังกล่าว หลวงพ่อบุญเย็นจึงได้สร้างสถานศึกษาให้เด็กยากจน ในชนบท สร้างสถานที่บรรเทาสาธารณภัย สถานที่ที่เป็นส่วนรวม เช่น สถานีอนามัย ถนนหนทาง สร้างสะพานข้ามน้ำ สร้างเขื่อนกั้นน้ำ สร้างวัดวาอาราม เพื่อให้ประชาชนทั้งหลายได้มาศึกษาเกี่ยวกับศีลธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี อันนี้ก็นับว่ามหากุศลอย่างยิ่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น