หลวงพ่อเย็น วัดบ้านแลง ระยอง สร้างปี2509 รุ่น2 รุ่นนี้จะมีสองเนื้อคืออัลปาก้าและเนื้อทองแดง สนนราคาค่านิยมเท่าๆกัน หายากชาวบ้านแลงเก็บหมดไม่เหลือครับ
ประวัติพระครูประทุมธรรมาภิบาล(เย็น อุปลวณฺณเถร) เจ้าคณะตำบลบ้านแลง ระยอง
หลวงพ่อเย็น เป็นเกจิอาจารย์ดังของตำบลบ้านแลง ซึ่งชาวบ้านตำบลบ้านแลง ให้ความเคารพนับถือ ซึ่งท่านเป็นพระนักพัฒนา วันสงกรานต์ทุกๆปีจะอัญเชิญรูปหล่อของท่านซึ่งอยู่บนวัดบ้านแลง ลงมาสรงน้ำเป็นประจำทุกปี และเรื่องราวปาฏิหารย์เกี่ยวกับเหรียญหลวงพ่อเย็นก็มีเกิดขึ้นมากมาย ตัวอย่างเช่น งานปิดทองฝังลูกนิมิตเมื่อปี 49 คนจุดพลุทำการจุดพลุแต่พลุเกิดด้านและระเบิดขึ้น เสื้อผ้าของคนจุดไหม้เกือบทั้งตัว แต่่ผิวหนังของคนจุดไม่เป็นอะไรเลย
ชีวประวัติพระครูประทุมธรรมาภิบาล(เย็น อุปลวณฺณเถร)
๑.ชาติภูมิ
พระ ครูประทุมธรรมาภิบาล(เย็น ประทุมยศ)เกิดในสมัยรัชกาลที่๕ ณ.บ้านก้นหนอง ตำบลบ้านแลง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง เมื่อวันที่๗กรกฎาคม พุทธศักราช๒๔๓๖ ตรงกับวันศุกร์เดือน๘แรม๙ค่ำปีมะเส็ง จุลศักราช๑๒๕๖
บิดาชื่อ เขียว ประทุมยศ มารดาชื่อเมี้ยน ประทุมยศ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน๙คน และบิดาเดียวกันแต่ต่างมารดาอีก๖คน
บิดาเดียวกัน๙คนคือ
๑.เป็นหญิงชื่อ ใฉ่
๒.เป็นชายชื่อ ฮะ
๓.เป็นชายชื่อ ประพันธ์(โป๊)
๔.เป็นชายชื่อ เย็น (พระครูประทุมธรรมาภิบาล)
๕เป็นชายชื่อ จื่อ
๖.เป็นชายชื่อ หนู
๗.เป็นหญิงชื่อ หมา
๘.เป็นหญิงชื่อ จีน
๙.เป็นหญิงชื่อ ลมูล
บิดาเดียวกันแต่ต่างมารดา๖คนคือ
๑.เป็นชายชื่อปิด (พระมหาปิด ป.ธ.๗)
๒.เป็นหญิงชื่อผัน
๓.เป็นชายชื่อจอน
๔.เป็นชายชื่อแต้ม (พระอาจารย์แต้ม)
๕.เป็นหญิงชื่อเต็ม
๖.เป็นหญิงชื่อมิ้ม
๒.ชีวิตและการศึกษาในปฐมวัย
เมื่อ เยาว์วัยได้รับการศึกษาเบื้องต้นที่วัด”จันทร์สุวรรณโพธิธาราม”(วัดแลง)จบ หลักสูตรในสมันนั้นพออ่านออกเขียนได้ และต่อจากนั้นได้ออกจากวัดไปช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพทำสวนอยู่ประมาณ๕ปี เมื่ออายุครบ๒๐ปีจึงได้อุปสมบท
๓.การอุปสมบท
อุปสมบทเมื่อวันที่๒๕ พฤษภาคม ๒๔๕๕ ตรงกับวันเสาร์ เดือน๗ ขึ้น๑ๆค่ำปีชวด ณ.พัทธสีมาวัดจันทร์สุวรรณโพธิธาราม(แลง) ตำบลบ้านแลง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง สำเร็จจตุกรรมวาจา เมื่อเวลา๑๑.๑๕น.
พระครูสมานคุณสังฆปาโมกข์ เป็นอุปัชฌายาจารย์
พระวินัยธรแหยม เป็นกรรมวาจาจารย์
พระสมุห์พลบ เป็นอนุสาวนาจารย์
ได้รับฉายาว่า อุปลวณฺโณ
๔.การศึกษาในระหว่างอุปสมบท
ได้ ศึกษาพระธรรมวินัย ณ.สำนักเรียนวัดจันทร์สุวรรณโพธิธารามจนแตกฉานแล้วในปี พ.ศ.๒๔๕๘ได้ย้ายติดตามพี่ชายคือพระมหาปิดไปเรียนบาลีต่อที่วัดจักรวรรดิราชา วาส(สามปลื้ม)๑พรรษาแต่เกิดมีอุปสรรคคือท่านได้อาพาธด้วยโรคเหน็บชารักษา อยู่นานก็ไม่ทุเลา ญาติโยมจึงได้รับกลับมารักษาที่บ้านจนหายเป็นปกติ ต่อจากนั้นก็มิได้กลับไปเรียนต่ออีกพอ และท่านได้เล่าเรียนท่องสวดมนต์จนจบเจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน สมัย พานยักษ์ ปาฏิโมกข์ และสามารถอบรมสั่งสอนศิษยานุศิษย์ให้มีความรู้ความสามารถได้เป็นอย่างดี
๕.ตำแหน่งหน้าที่ในระหว่างอุปสมบท
๑.ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดจันทร์สุวรรณโพธิธาราม(แลง)และเป็นกรรมวาจาจารย์ เมื่ออุปสมบทได้๘พรรษาปี๒๔๖๓
๒.ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลแลง เมื่อ๑๘มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๖
๓.ได้รับตำแหน่งเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อวันที่๒๐มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๘
๖.สมณศักดิ์
๑.เป็นพระครูประทวน เมื่อวันที่๑๙กันยายน พ.ศ.๒๔๗๘
๒.เป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูประทุมธรรมาภิบาลเมื่อวันที่๑มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
๓.เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ในนามเดิม เมื่อวันที่๕ธันวาคม พ.ศ.๒๕๐๒
คัดลอกจากหนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพระครูประทุมธรรมาภิบาล
Amulet พระเครื่องและเครื่องราง
ประวัติพระครูประทุมธรรมาภิบาล(เย็น อุปลวณฺณเถร) เจ้าคณะตำบลบ้านแลง ระยอง
หลวงพ่อเย็น เป็นเกจิอาจารย์ดังของตำบลบ้านแลง ซึ่งชาวบ้านตำบลบ้านแลง ให้ความเคารพนับถือ ซึ่งท่านเป็นพระนักพัฒนา วันสงกรานต์ทุกๆปีจะอัญเชิญรูปหล่อของท่านซึ่งอยู่บนวัดบ้านแลง ลงมาสรงน้ำเป็นประจำทุกปี และเรื่องราวปาฏิหารย์เกี่ยวกับเหรียญหลวงพ่อเย็นก็มีเกิดขึ้นมากมาย ตัวอย่างเช่น งานปิดทองฝังลูกนิมิตเมื่อปี 49 คนจุดพลุทำการจุดพลุแต่พลุเกิดด้านและระเบิดขึ้น เสื้อผ้าของคนจุดไหม้เกือบทั้งตัว แต่่ผิวหนังของคนจุดไม่เป็นอะไรเลย
ชีวประวัติพระครูประทุมธรรมาภิบาล(เย็น อุปลวณฺณเถร)
๑.ชาติภูมิ
พระ ครูประทุมธรรมาภิบาล(เย็น ประทุมยศ)เกิดในสมัยรัชกาลที่๕ ณ.บ้านก้นหนอง ตำบลบ้านแลง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง เมื่อวันที่๗กรกฎาคม พุทธศักราช๒๔๓๖ ตรงกับวันศุกร์เดือน๘แรม๙ค่ำปีมะเส็ง จุลศักราช๑๒๕๖
บิดาชื่อ เขียว ประทุมยศ มารดาชื่อเมี้ยน ประทุมยศ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน๙คน และบิดาเดียวกันแต่ต่างมารดาอีก๖คน
บิดาเดียวกัน๙คนคือ
๑.เป็นหญิงชื่อ ใฉ่
๒.เป็นชายชื่อ ฮะ
๓.เป็นชายชื่อ ประพันธ์(โป๊)
๔.เป็นชายชื่อ เย็น (พระครูประทุมธรรมาภิบาล)
๕เป็นชายชื่อ จื่อ
๖.เป็นชายชื่อ หนู
๗.เป็นหญิงชื่อ หมา
๘.เป็นหญิงชื่อ จีน
๙.เป็นหญิงชื่อ ลมูล
บิดาเดียวกันแต่ต่างมารดา๖คนคือ
๑.เป็นชายชื่อปิด (พระมหาปิด ป.ธ.๗)
๒.เป็นหญิงชื่อผัน
๓.เป็นชายชื่อจอน
๔.เป็นชายชื่อแต้ม (พระอาจารย์แต้ม)
๕.เป็นหญิงชื่อเต็ม
๖.เป็นหญิงชื่อมิ้ม
๒.ชีวิตและการศึกษาในปฐมวัย
เมื่อ เยาว์วัยได้รับการศึกษาเบื้องต้นที่วัด”จันทร์สุวรรณโพธิธาราม”(วัดแลง)จบ หลักสูตรในสมันนั้นพออ่านออกเขียนได้ และต่อจากนั้นได้ออกจากวัดไปช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพทำสวนอยู่ประมาณ๕ปี เมื่ออายุครบ๒๐ปีจึงได้อุปสมบท
๓.การอุปสมบท
อุปสมบทเมื่อวันที่๒๕ พฤษภาคม ๒๔๕๕ ตรงกับวันเสาร์ เดือน๗ ขึ้น๑ๆค่ำปีชวด ณ.พัทธสีมาวัดจันทร์สุวรรณโพธิธาราม(แลง) ตำบลบ้านแลง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง สำเร็จจตุกรรมวาจา เมื่อเวลา๑๑.๑๕น.
พระครูสมานคุณสังฆปาโมกข์ เป็นอุปัชฌายาจารย์
พระวินัยธรแหยม เป็นกรรมวาจาจารย์
พระสมุห์พลบ เป็นอนุสาวนาจารย์
ได้รับฉายาว่า อุปลวณฺโณ
๔.การศึกษาในระหว่างอุปสมบท
ได้ ศึกษาพระธรรมวินัย ณ.สำนักเรียนวัดจันทร์สุวรรณโพธิธารามจนแตกฉานแล้วในปี พ.ศ.๒๔๕๘ได้ย้ายติดตามพี่ชายคือพระมหาปิดไปเรียนบาลีต่อที่วัดจักรวรรดิราชา วาส(สามปลื้ม)๑พรรษาแต่เกิดมีอุปสรรคคือท่านได้อาพาธด้วยโรคเหน็บชารักษา อยู่นานก็ไม่ทุเลา ญาติโยมจึงได้รับกลับมารักษาที่บ้านจนหายเป็นปกติ ต่อจากนั้นก็มิได้กลับไปเรียนต่ออีกพอ และท่านได้เล่าเรียนท่องสวดมนต์จนจบเจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน สมัย พานยักษ์ ปาฏิโมกข์ และสามารถอบรมสั่งสอนศิษยานุศิษย์ให้มีความรู้ความสามารถได้เป็นอย่างดี
๕.ตำแหน่งหน้าที่ในระหว่างอุปสมบท
๑.ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดจันทร์สุวรรณโพธิธาราม(แลง)และเป็นกรรมวาจาจารย์ เมื่ออุปสมบทได้๘พรรษาปี๒๔๖๓
๒.ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลแลง เมื่อ๑๘มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๖
๓.ได้รับตำแหน่งเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อวันที่๒๐มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๘
๖.สมณศักดิ์
๑.เป็นพระครูประทวน เมื่อวันที่๑๙กันยายน พ.ศ.๒๔๗๘
๒.เป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูประทุมธรรมาภิบาลเมื่อวันที่๑มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
๓.เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ในนามเดิม เมื่อวันที่๕ธันวาคม พ.ศ.๒๕๐๒
คัดลอกจากหนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพระครูประทุมธรรมาภิบาล
Amulet พระเครื่องและเครื่องราง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น