แก้ปัญหาหลังคาร้อนและรั่วซึม ด้วย พี.ยู. โฟม ฉนวนกันความร้อน รักษาอุณหภูมิ ประหยัดไฟฟ้าลงถึง40%หรือมากกว่านั้นอยู่ที่ความหนาของการฉีดพ่น

วันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2555

พระบัวเข็มหรือพระมหาเถระอุปคุต เนื้อทองเหลืองเก่า

 พระอุปคุต หรือพระบัวเข็ม พระแห่งโชคลาภและป้องกันภัยทั้งหลายทั้งปวง
โอ ระยอง  0894014403 เอกลักษณะการสร้างดูเหมือนของหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา มากๆ
ดูที่ทรงผมครับ ลงวัดใจครับ ดูง่าย แท้ชัวร์

"พระอุปคุต" พระแห่ง...โชคลาภคุ้มกันภัยทั้งปวง
พระ อุปคุต เป็นรูปเคารพที่สร้างขึ้นแทนพระอรหันต์สาวกสำคัญรูปหนึ่ง ซึ่งได้รับการยกย่องว่า มีความเป็นเลิศทางอิทธิฤทธิ์ ในสมัยหลังพุทธกาล เช่นเดียวกันกับที่ พระโมคคัลลาน์ ได้รับการยกย่องสมัยเมื่อครั้งพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์ชีพชาว พม่า รามัญ นับถือพระอุปคุตเถระ กันเป็นจำนวนมาก จึงมีการสร้างรูปบูชาของท่านขึ้นมา เห็นได้จาก พระบูชาพระอุปคุต ที่มีศิลปะแบบพม่าอยู่มากมายแต่ถ้าเป็น พระอุปคุต ที่นิยมในวงการพระเครื่อง ต้องยกให้ พระอุปคุต เนื้อสัมฤทธิ์เงิน ศิลปะเขมร ซึ่งมีอยู่มากมายหลายพิมพ์พระอุปคุต เป็นภาษาบาลี ในขณะที่ภาษาสันสกฤตเขียนว่า "อุปคุปต์" ซึ่งตรงกับภาษาที่พี่น้องชาวไตยบางท้องถิ่น ขานนามท่านว่า "ส่างอุปคุป" โดยมีความหมายว่า "ผู้คุ้มครองมั่นคง"ชาว ล้านนารู้จักพระอุปคุต ในนามผู้ปกป้องคุ้มครองภัย โดยเฉพาะการมีปอยหลวง งานพิธีกรรมของส่วนรวม จะมีการอาราธนาพระอุปคุตขึ้นจากแม่น้ำ มาคุ้มครองการจัดงาน เพื่อมิให้เกิดเหตุเภทภัย และให้งานลุล่วงไปด้วยดีนอกจากจะเรียกว่า "พระอุปคุต" แล้วยังมีการเรียก "พระอุปคุตเถระ" หรือ "พระเถรอุปคุต" ชื่อนี้เรียกเป็นภาษาชาวบ้าน โดยนำเอาคำว่า เถระ อันเป็นสัญลักษณ์ที่ชี้บอกถึงความมั่นคง ในพระธรรมวินัย หรือบวชพระครองเพศสมณะมาแล้วตั้งแต่ ๑๐ พรรษาขึ้นไป และยังมีชื่อเรียกอื่นๆ อีก ดังเช่น พระนาคอุปคุต พระกีสนาคอุปคุต ฯลฯใน บางท้องถิ่นล้านนา เชื่อว่า พระอุปคุตจะตะแหลง (แปลงร่าง) เป็น สามเณรน้อย ขึ้นมาบิณฑบาตใน วันเป็งปุ๊ด หรือ เพ็ญพุธ (วันเพ็ญที่ตรงกับวันพุธพอดี) เริ่มตั้งแต่ตีหนึ่งของวันพุธ ผู้คนจึงมักเห็นสามเณรน้อยเดินบิณฑบาตไปตามถนน ทางสี่แพร่งสามแพร่ง ตลอดจนถนนหนทางตามริมน้ำท่าน้ำต่างๆ จนกระทั่ง ตี๋นฟ้ายก หรือแสงเงินแสงทองออกมา จึงเนรมิตกายหายไปเชื่อกันว่า หากผู้ใดมีบุญบารมีได้ใส่บาตรพระอุปคุต มักทำให้ร่ำรวยเงินทอง ปราศจากภัยทั้งปวง มีสมาธิจิตดี ไม่หลงลืม ชีวิตเป็นสุขด้วยเหตุนี้ จึงมีผู้สร้าง พระอุปคุต ปางต่างๆ ที่นิยมกันมากได้แก่ ปางล้วงบาตร หมายถึงกิ๋นบ่เสี้ยง หรือกินไม่หมด ให้คุณทางทรัพย์สินเนืองนอง มากมาย ร่ำรวยพระ อุปคุต ปางห้ามมาร ให้คุณในทางคุ้มครองป้องกันภัยต่างๆ ปางสมาธิ หรือ พระบัวเข็ม ให้คุณในด้านสติปัญญาดี จิตใจผ่องใส ดำเนินชีวิตเป็นสุข ด้วยปัญญาบารมีด้วย ประวัติอันทรงฤทธิ์ดังกล่าว พุทธศาสนิกชนจึงสร้างรูปพระอุปคุตขึ้นบูชา โดยมีความเชื่อว่า จะสามารถปกป้องคุ้มครองภยันตรายต่างๆ อันอาจจะเกิดขึ้นดัง จะเห็นได้ว่า ในปัจจุบัน เมื่อจะจัดงานพิธีสำคัญต่างๆ ขึ้น มักจะมี พิธีอธิษฐานบูชาพระอุปคุต เป็นเบื้องต้น เพื่อให้ช่วยคุ้มครองให้งานนั้นๆ สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีรูป ลักษณะของพระอุปคุต ที่เป็นรูปเคารพโดยทั่วไป มักทำเป็นรูปองค์พระนั่งอยู่ภายในหอยสังข์ มีขนาดศีรษะค่อนข้างใหญ่ เน้นส่วนคิ้ว ตา จมูกให้เห็นชัดเจน และเนื่องจากที่อาศัยจำพรรษาของพระอุปคุตอยู่ในปราสาทแก้วกลางมหาสมุทร จึงมักทำรูปสัตว์น้ำเป็นสัญลักษณ์ประกอบอยู่ด้วยเสมอพระ อุปคุต ผู้เป็นพระอรหันตสาวก ที่ทรงมหิทธานุภาพ ชอบความวิเวกวังเวง และอยู่ตามลำพังผู้เดียว ไม่ชอบเกี่ยวข้องกับผู้อื่น เป็นพระอรหันต์หลังสมัยพุทธกาล เพราะไม่พบประวัติของท่านในพระไตรปิฎก แต่ปรากฏอยู่ใน จารึกพระเจ้าอโศก ซึ่งเขียนขึ้น เมื่อร้อยกว่าปีหลังพุทธปรินิพพานและ ยังปรากฏอยู่ใน พระปฐมสมโพธิกถา ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส โดยอยู่ปริจเฉทที่ ๒๘ ที่มีชื่อว่า มารพันธ-ปริวรรตตาม ประวัติกล่าวว่า พระอุปคุต เกิดในตระกูลวานิช บิดาประกอบอาชีพค้าเครื่องหอม อยู่ที่เมืองมถุรา มีพี่น้องทั้งหมดรวมทั้งตัวท่านเองสามคนเดิมบิดาของท่านได้ให้คำสัญญากับ พระสาณวารี (สาณสัมภูติ) ไว้ว่า หากมีบุตรชายจะให้อุปสมบทในพุทธศาสนา แต่ก็บ่ายเบี่ยงเรื่อยมา โดยอ้างว่า จะต้องเอาไว้ช่วยกิจการของครอบครัวจน กระทั่งมีบุตรคนที่สาม คือ ตัวท่าน ซึ่งได้มีโอกาสฟังพระธรรมจากพระสาณวารี จนเกิดดวงตาเห็นธรรม ประสงค์จะอุปสมบท บิดาท่านจึงต้องจำยอมอนุญาตเมื่อ พระอุปคุตบวชแล้ว ก็ได้เจริญวิปัสสนาญาณโดยลำดับ จนบรรลุพระอรหันต์ผล และได้เป็นอาจารย์สั่งสอนทางสมถกัมมัฏฐาน และวิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุด ในสมัยนั้น ดังปรากฏมี พระอรหันต์ที่เป็นศิษย์ของพระอุปคุตถึง ๑๘,๐๐๐ รูปนอก จากนี้แล้ว พระอุปคุตยังสำเร็จอภิญญาต่างๆ จนสามารถแสดงอภินิหาร เป็นที่เล่าลือมาจนทุกวันนี้ มีปฏิปทาดำเนินไปในทางสันโดษ มักน้อย นัยว่า ท่านเนรมิตเรือนแก้ว (กุฏิแก้ว) ขึ้นในท้องทะเลหลวง (สะดือทะเล) แล้วก็ลงไปอยู่ประจำที่กุฏิแก้วตลอดเวลา เมื่อมีเหตุเภทภัยเกิดขึ้นในพระศาสนา หรือเมื่อมีพิธีกรรมใหญ่ๆ หรือมีผู้นิมนต์ ท่านก็จะขึ้นมาช่วยเหลือ ด้วยความเต็มใจเสมอคติ ความเชื่อเกี่ยวกับพุทธคุณ ของผู้ที่บูชา พระอุปคุต เชื่อว่า มีพุทธโดดเด่นด้านโชคลาภ และคุ้มกันภัยภิบัติอันตรายทั้งปวง วิธีสวดขอลาภ ให้จุดธูปเทียนบูชา พร้อมกับดอกไม้หอม เครื่องหอม น้ำหอมต่างๆ เทหยดใส่ในขันน้ำมนต์ ณ ที่บูชาพระ ในร้านค้าขาย หรืออาคารสำนักงาน แล้วอธิษฐานขอให้กลิ่นควันธูปเทียน ลมพัดไปทางไหน ขอให้ดลใจผู้คนเข้ามาอุดหนุนตลอด ขอให้ดำเนินกิจการด้วยความราบรื่น มีความสำเร็จสมปรารถนาทุกประการเมื่อ อธิษฐานจุดธูปเทียนบูชาแล้ว ให้สวดนะโม ๓ จบ และสวดคำบูชาขอลาภพระอุปคุต ๑ จบ แล้วทำน้ำมนต์สวดด้วยคำบูชาขอลาภพระมหาอุปคุต อีก ๑ จบ เสร็จแล้ว เอาน้ำมนต์ประพรมร้านค้า และสินค้าในร้านค้า หรือทำธุรกิจ ให้เอาน้ำมนต์ประพรมภายในสำนักงาน และอุปกรณ์ต่างๆ ที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ในการทำธุรกิจนั้นทั้งหมด 
วิธีการตั้งบูชา
พระอุปคุต
หรือ พระบัวเข็มการตั้งบูชานิยมการตั้งบูชาบนฐานรองรับ อยู่กลางภาชนะใส่น้ำเป็นการจำลองคล้ายกับท่านจำพรรษาอยู่ในมหาสมุทร แล้วใช้ดอกมะลิลอยในน้ำบูชาและต้องตั้งต่ำกว่าพระพุทธ เนื่องจากเป็นพระอรหันต์สาวกของพระพุทธเจ้า

คำบูชาขอลาภพระอุปคุต
นะโม ๓ จบ
มหาอุปคุตโต จะมหาลาโภ พุทโธลาภัง สัพเพชะนา พะหูชะนา ราชาปุริโส อิถีโยมานัง นะโมโจรา เมตตาจิตตัง เอหิจิตติจิตตัง ปิยังมะมะ สะเทวะกัง สะพรหมมะกัง มะนุสสานัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม ฯ เอหิจิตติ จิตตังพันธะนัง อุปะคุตะ จะมหาเถโร พุทธะสาวะกะ อานุภาเวนะ มาระวิชะยะ นิระภะยะ เตชะปุญณะตา จะเทวะตานัมปิ มะนุสสานันปิ เอหิจิตตัง ปิยังมะมะ อิมังกายะ พันธะนัง อะทิถามิ ปะอัยยิสสุตัง อุปัจสะอิ ฯ
คำบูชาพระอุปคุต
อุปะคุตโต จะมะหาเถโร สัมพุทเธนะ วิยากะโต มารัญจะ มาระพะลัญจะ โส อิทานิ มะหาเถโร นะมัสสิตะวาปะติฎฐิโต อะหัง วันทามิ อิทาเนวะ อุปะคุตตัง จะ มาหาเถรัง ยัง ยัง อุปัททะวังชาตัง วิธัง เสติ อะเสสะโต มะหาลาภัง ภะวันตุเม ฯ
หรือ(แบบย่อ) อุปะคุตโต จะมะหาเถโร ยักขาเทวา นะระปูชิโต โสระโห ปัจจะ ยาทิมปิ มะหาลาภัง ภะวันตุเม(เกิดโชคลาภและคุ้มกันภัยภิบัติอันตรายทั้งปวง)คำบูชาพระมหาอุปคุต

นโม ๓จบ
พระมหาอุปคุตโต พระมหาอุปคุตตัง จะมหาเถโรสัพเพชะนา พะหูชะนา อิถีชะนา มามังพุทธะจิตตัง จะมหาลาโภ พุทธะธัมโม จะมหาลาภังพุทธะสังฆัง จะมหาสัจจัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม ฯ
อุปคุตตะ จะมหาเถโรสัพพะเสน่หาปุพชิโต โสระโห อุปะคุตะ ปัจจะยา ธิมะหิ อุตตะโม โหติ สัพพะทุกขะสัพพะภะยะ สัพพะโรคะ พุทธา ธัมมา สังฆา อานุภาเวนะ วินาสสันติ(นิยมสวดบูชาพระบัวเข็ม หรือพระธาตุอุปคุต)
คำบูชาพระบัวเข็ม
นโม ๓จบ
กิจจะมาคะอุปคุตโต อะมะหาเถโร สัมพุทเธวิยาคะโต มาระรัญจะ โสอิทานิจะมะหาเถโร นะมัดปะสิทตะวาปะ ถิติโกอหัง วันทามิ พาเนวะอุปคุตตัง จะมะ หาเถรังยังยังอุปัทธะวังชาติ วิทังเสนติ อะเสสะโต นโมพุทธายะ
พระบัวเข็มจะมะหาเถโรสัพพะลาภังภะวันตุเม อิติปิโสภะคะวา พุทโธชัยโย ธัมโมชัยโย สังโฆชัยโย เมตตาฉิมพาลีจะมะหา เถโร สัพพะลาภัง ตะวันตุเม ฯ
ชัยยะตัง ปัตถะพีตับภัง สามินโทโสราชาปูเชมิ ฯ
หรือ
จิตติจิตติ มิตติเอหิมะมะ อุปปะคุตโต จะมะหาเถโรนานาปาระมิ สัมมะปัณโน อิติปิโสภะคะวา มะอะอุเมตตา จะมะหาราชา สัพพะสะเนหา จะปูชิตาสัพพะทุกขัง มะหาลาภัง สัพพะโกพัง วินาสสันติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น